วันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2559

อาชีพทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ



1.เส้นทางสู่อาชีพนักพัฒนาซอฟต์แวร์

ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว  ประเทศไทยจึงมีความต้องการบุคลากร ที่ประกอบอาชีพนักพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นอย่างมาก  เนื่องจากทุกหน่วยงานจะต้องนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาพัฒนาองค์กรให้มีความทันสมัยจึงจะสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้  อีกทั้งยังคงต้องการซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพ เชื่อถือได้ ปลอดภัย และมีเสถียรภาพ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ จึงต้องเป็นบุคคลที่รู้วิธีการทำงานให้มีคุณภาพ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ สามารถบริหารจัดการพัฒนาซอฟต์แวร์ได้อย่างเหมาะสม และวางแผนการทำงานได้อย่างแม่นยำ 




ลักษณะงานที่ทำ

1.วิจัย วิเคราะห์ และพัฒนาระบบซอฟต์แวร์
2.ศึกษากระบวนการ  ตลอดจนเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
3.ออกแบบกระบวนการในการทำระบบซอฟต์แวร์ให้เป็นมาตรฐาน
4.ทดสอบ ตรวจสอบความถูกต้องของกระบวนการให้เป็นไปตามความต้องการ
5.ประเมินผลการทำงานของแต่ละขั้นตอนในกระบวนการ  พร้อมประเมินผลความเสี่ยง
6.สนับสนุนการพัฒนาซอฟต์แวร์ระบบใหญ่ให้มีคุณภาพสูง
7.ดูแลแก้ไขข้อมูลด้านซอฟต์แวร์ของสถานประกอบการ
8.แนะนำและสอนเทคนิคการใช้โปรแกรมให้พนักงาน และงานอื่นๆที่ได้รับมอบหมาย
9.ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา

รายได้ของอาชีพนักพัฒนาซอฟต์แวร์

ผู้ปฏิบัติงานอาชีพนี้ ต้องสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือปริญญาโท ทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมซอฟต์แวร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง สามารถปฏิบัติงานในหน่วยงานราชการ โดยจะได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนในระดับปริญญาตรี 7,630 บาท และปริญญาโท 9,320 บาท ได้รับสวัสดิการและเบี้ยเลี้ยงตามระเบียบสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนรัฐวิสาหกิจ  ส่วนภาคเอกชนจะได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนในระดับ ปริญญาตรีประมาณ 20,000 บาท และระดับปริญญาโทประมาณ 30,000 บาท

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ

1.สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมซอฟต์แวร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
2. เชี่ยวชาญด้าน Software Engineering หรือวิศวกรรมซอฟต์แวร์
3.ชอบการคำนวณ คิดค้น วิเคราะห์ สังเคราะห์ สถิติ และตัวเลข
4.สนใจเทคโนโลยีใหม่ๆ ทางด้านซอฟต์แวร์ เนื่องจากจะต้องนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาเพื่อพัฒนาออกแบบซอฟต์แวร์ให้ดีขึ้นเรื่อยๆ เพื่อนำมาใช้ในระบบการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมปฏิบัติการต่างๆ
5.สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกับองค์กรและสามารถทดสอบซอฟต์แวร์โดยกรรมวิธีมาตรฐานได้
6.สามารถแจกแจงรายละเอียดงาน จัดการกับระบบงานที่สลับซับซ้อนได้
7.ขยัน อดทน และมีความพยายาม
8.มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ชอบดัดแปลง รักความก้าวหน้า และสนุกกับการทำงานที่ท้าทาย

2.วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (software engineering) 

เป็นสาขาที่สอนเกี่ยวกับวิศวกรรมด้านซอฟต์แวร์ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการใช้กระบวนการทางวิศวกรรมในการดูแลการผลิต ตั้งแต่การเริ่มเก็บความต้องการ การตั้งเป้าหมายของระบบ การออกแบบ กระบวนการพัฒนา การตรวจสอบ การประเมินผล การติดตามโครงการ การประเมินต้นทุน การรักษาความปลอดภัย ไปจนถึงการคิดราคาซอฟต์แวร์ครับ ใครที่ชื่นชอบเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นั้น สาขาอาชีพนี้เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่มาแรงทีเดียวในปัจจุบัน
 




โดยวิศวกรรมซอฟต์แวร์จะมีการนำองค์ความรู้มาประยุกต์กับความรู้ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การบริหารจัดการโครงการ และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างซอฟต์แวร์ที่สามารถปฏิบัติงานตามเป้าหมายได้ครับ เป็นสาขาที่เราจะมีองค์ความรู้ในหลายสาขาทีเดียว

มหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศไทย ได้ทะยอยเปิดสาขานี้กันมากขึ้น เช่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยบูรพา รวมถึงมหาวิทยาลัยทั้งรัฐและเอกชนอีกหลายแห่งครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น