วันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2559

อาชีพทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ



1.เส้นทางสู่อาชีพนักพัฒนาซอฟต์แวร์

ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว  ประเทศไทยจึงมีความต้องการบุคลากร ที่ประกอบอาชีพนักพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นอย่างมาก  เนื่องจากทุกหน่วยงานจะต้องนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาพัฒนาองค์กรให้มีความทันสมัยจึงจะสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้  อีกทั้งยังคงต้องการซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพ เชื่อถือได้ ปลอดภัย และมีเสถียรภาพ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ จึงต้องเป็นบุคคลที่รู้วิธีการทำงานให้มีคุณภาพ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ สามารถบริหารจัดการพัฒนาซอฟต์แวร์ได้อย่างเหมาะสม และวางแผนการทำงานได้อย่างแม่นยำ 




ลักษณะงานที่ทำ

1.วิจัย วิเคราะห์ และพัฒนาระบบซอฟต์แวร์
2.ศึกษากระบวนการ  ตลอดจนเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
3.ออกแบบกระบวนการในการทำระบบซอฟต์แวร์ให้เป็นมาตรฐาน
4.ทดสอบ ตรวจสอบความถูกต้องของกระบวนการให้เป็นไปตามความต้องการ
5.ประเมินผลการทำงานของแต่ละขั้นตอนในกระบวนการ  พร้อมประเมินผลความเสี่ยง
6.สนับสนุนการพัฒนาซอฟต์แวร์ระบบใหญ่ให้มีคุณภาพสูง
7.ดูแลแก้ไขข้อมูลด้านซอฟต์แวร์ของสถานประกอบการ
8.แนะนำและสอนเทคนิคการใช้โปรแกรมให้พนักงาน และงานอื่นๆที่ได้รับมอบหมาย
9.ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา

รายได้ของอาชีพนักพัฒนาซอฟต์แวร์

ผู้ปฏิบัติงานอาชีพนี้ ต้องสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือปริญญาโท ทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมซอฟต์แวร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง สามารถปฏิบัติงานในหน่วยงานราชการ โดยจะได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนในระดับปริญญาตรี 7,630 บาท และปริญญาโท 9,320 บาท ได้รับสวัสดิการและเบี้ยเลี้ยงตามระเบียบสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนรัฐวิสาหกิจ  ส่วนภาคเอกชนจะได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนในระดับ ปริญญาตรีประมาณ 20,000 บาท และระดับปริญญาโทประมาณ 30,000 บาท

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ

1.สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมซอฟต์แวร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
2. เชี่ยวชาญด้าน Software Engineering หรือวิศวกรรมซอฟต์แวร์
3.ชอบการคำนวณ คิดค้น วิเคราะห์ สังเคราะห์ สถิติ และตัวเลข
4.สนใจเทคโนโลยีใหม่ๆ ทางด้านซอฟต์แวร์ เนื่องจากจะต้องนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาเพื่อพัฒนาออกแบบซอฟต์แวร์ให้ดีขึ้นเรื่อยๆ เพื่อนำมาใช้ในระบบการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมปฏิบัติการต่างๆ
5.สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกับองค์กรและสามารถทดสอบซอฟต์แวร์โดยกรรมวิธีมาตรฐานได้
6.สามารถแจกแจงรายละเอียดงาน จัดการกับระบบงานที่สลับซับซ้อนได้
7.ขยัน อดทน และมีความพยายาม
8.มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ชอบดัดแปลง รักความก้าวหน้า และสนุกกับการทำงานที่ท้าทาย

2.วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (software engineering) 

เป็นสาขาที่สอนเกี่ยวกับวิศวกรรมด้านซอฟต์แวร์ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการใช้กระบวนการทางวิศวกรรมในการดูแลการผลิต ตั้งแต่การเริ่มเก็บความต้องการ การตั้งเป้าหมายของระบบ การออกแบบ กระบวนการพัฒนา การตรวจสอบ การประเมินผล การติดตามโครงการ การประเมินต้นทุน การรักษาความปลอดภัย ไปจนถึงการคิดราคาซอฟต์แวร์ครับ ใครที่ชื่นชอบเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นั้น สาขาอาชีพนี้เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่มาแรงทีเดียวในปัจจุบัน
 




โดยวิศวกรรมซอฟต์แวร์จะมีการนำองค์ความรู้มาประยุกต์กับความรู้ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การบริหารจัดการโครงการ และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างซอฟต์แวร์ที่สามารถปฏิบัติงานตามเป้าหมายได้ครับ เป็นสาขาที่เราจะมีองค์ความรู้ในหลายสาขาทีเดียว

มหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศไทย ได้ทะยอยเปิดสาขานี้กันมากขึ้น เช่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยบูรพา รวมถึงมหาวิทยาลัยทั้งรัฐและเอกชนอีกหลายแห่งครับ

วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ข้อสอบ O-net English ม.6 พร้อมเฉลย (5 ข้อ)

ข้อสอบ O-net English ม.6 พร้อมเฉลย (5 ข้อ)

1. My boss, Brian, is busy tomorrow. He ________ a sales presentation to the board committee after lunch.
 1 has
 2 has given
 3 won’t give
 4 is giving
 5 has been giving

2. Have you ever ________ anything valuable in your school canteen?
 1 loss
 2 leave
 3 come across
 4 skipped
 5 looked forward

3. ________________ We only eat takeouts.
 1 We don’t like street foods.
 2 We don’t cook.
 3 We really hate junk foods.
 4 We usually spend time on cooking.
 5 We sometimes cook.

4. I saw a big grizzly bear once. It was during my school camping in the forest. The bear ________ right to me
 while I _______ to the river. I _________! 
1 is walking / am going / am terrifying
 2 was walking / went / was terrifying
 3 walked / was going / am terrified
 4 was walking / was walking / was terrified
 5 walked / was walking / am terrified

5. This is such a comfy armchair. I love it!
 1 This armchair is beautiful.
 2 This armchair is very luxury.
 3 This armchair is great with design.
 4 This armchair is comfortable.
 5 This is an antique armchair.

เฉลย
           1.ตอบ 4 โจทย์ให้ค ำบอกเวลำคือ tomorrow จึงต้องใช้ Present continuous tense เพื่อบอกสิ่งที่
กำ ลงัจะทำ หรือต้งัใจจะทำ ในอนำคต ตวัเลือกที่4จึงถูกตอ้ง
          2.ตอบ 3 come across เป็นกริยำวลีแปลวำ่ พบเจอโดยบงัเอิญ
          3.ตอบ 2 จำกโจทย์ประโยคหลงับอกวำ่ พวกเรำทำนอำหำรจำกร้ำนเท่ำน้นั ดงัน้นั ประโยคแรก
จึงควรมีใจควำมทำ นองวำ่ เรำไม่ทำ อำหำรทำนกนั ในบำ้น ตวัเลือกที่2จึงเป็นคำ ตอบที่
ถูกต้อง
         4.ตอบ 4 คำ กริยำใน 2 ประโยคแรก ทำ ใหรู้้วำ่ เหตุกำรณ์เกิดข้ึนในอดีต ดงัน้นัคำ กริยำที่ใชต้อ้ง
เป็นรูปอดีตท้งัหมด ตวัเลือกที่3ถูกตอ้ง เพรำประโยคที่3 มีคำ เชื่อม while ซ่ึงกริยำที่อยู่
ข้ำงหน้ำและข้ำงหลังต้องเป็ น tense เดียวกนั
         5.ตอบ 4 comfy (adj.)= สบำย สะดวกควำมหมำยเหมือนคำ วำ่ comfortable

อ้างอิง www.pakornkrits.wordpress.com

วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Let’s Time For Health

ชื่อโครงงาน
Let’s Time For Health

บทคัดย่อ
เกม Let’s Time For Health นั้น เป็นโปรแกรมสื่อผสมมัลติมีเดียในรูปแบบของเกมโดยใช้โปรแกรม Microsoft Visual Basic 6.0 เป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบในส่วนที่ติดต่อกับผู้ใช้โปรแกรม,ประมวลผลภาพจากเว็บแคม และใช้โปรแกรม Adobe Premiere Pro 2.0 เป็นเครื่องมือในการพัฒนาด้านการตัดต่อไฟล์วิดีโอ และใช้โปรแกรม Cool Edit ในการตัดต่อแก้ไขไฟล์ดนตรี, เสียงประกอบ รวมทั้งโปรแกรม Adobe Photoshop CS 2 และ Macromedia Flash 8 เป็นเครื่องมือในการพัฒนาด้านกราฟิก และการตกแต่งส่วนประกอบแนวคิดของการออกกำลังกายที่นำมาสร้างเป็นเกมที่ออกกำลังกายได้จริงและมีความสนุกสนานนั้น ได้มีการนำมาสร้างขึ้นเพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการออกกำลังกาย โดยได้พัฒนามาในรูปแบบของเกมที่มีทั้งสื่อผสม(Multimedia) การตอบสนองของผู้ใช้ผ่านการปฏิบัติจริง โดยสามารถประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยตัวเกมถูกออกแบบให้สามารถเข้าถึงได้ทุกช่วงอายุ แล้วยังประหยัดทรัพยากรของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย ผู้ใช้สามารถใช้เกมนี้เพื่อการดูแลสุขภาพ สนุกสนาน และผ่อนคลาย ไปพร้อมๆกัน
โปรแกรมที่ใช้งาน
- Microsoft Visual Basic 6.0
- Adobe Premiere Pro 2.0 
- Cool Edit
- Adobe Photoshop CS 2 
- Macromedia Flash 8
ขอบคุณที่มา http://www.vcharkarn.com/project/664

วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ตัวอย่างโครงงาน

http://best0605.blogspot.com/

เหตุผลที่ชอบเพราะ โครงงานเป็นเรื่องของอาหารมีความสนใจในอาหาร ครับ

วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์

ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
1. คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ
          โดยทั่วไปเรื่องที่จะนำมาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์ มักจะได้มาจากปัญหา คำถาม หรือความสนใจในเรื่องต่างๆ จากการสังเกตสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ หรือสิ่งต่างๆ รอบตัว ปัญหาที่จะนำมาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ได้จากแหล่งต่างๆ กัน ดังนี้ 
          1. การอ่านค้นคว้าจากหนังสือ เอกสาร หนังสือพิมพ์ หรือวารสารต่างๆ
          2. การไปเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ
          3. การฟังบรรยายทางวิชาการ รายการวิทยุและโทรทัศน์ รวมทั้งการสนทนาอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างเพื่อนนักเรียนหรือกับบุคคลอื่นๆ
          4. กิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียน
          5. งานอดิเรกของนักเรียน
          6. การเข้าชมงานนิทรรศการหรืองานประกวดโครงงานคอมพิวเตอร์
ในการตัดสินใจเลือกหัวข้อที่จะนำมาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ ควรพิจารณาองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้



          1. ต้องมีความรู้และทักษะพื้นฐานอย่างเพียงพอในหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา
          2. สามารถจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องได้
          3. มีแหล่งความรู้เพียงพอที่จะค้นคว้าหรือขอคำปรึกษา
          4. มีเวลาเพียงพอ
          5. มีงบประมาณเพียงพอ
          6. มีความปลอดภัย



2. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล
          การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล ซึ่งรวมถึงการขอคำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จะช่วยให้นักเรียนได้แนวคิดที่ใช้ในการกำหนดขอบเขตของเรื่องที่จะศึกษาได้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งได้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่จะศึกษาจนสามารถใช้ออกแบบและวางแผนดำเนินการทำโครงงานนั้นได้อย่างเหมาะสม ในการศึกษาจะต้องได้คำตอบว่า



          1. จะทำ อะไร
          2. ทำไมต้องทำ
          3. ต้องการให้เกิดอะไร
          4. ทำอย่างไร
          5. ใช้ทรัพยากรอะไร
          6. ทำกับใคร
          7. เสนอผลอย่างไร



3. องค์ประกอบของเค้าโครงของโครงงาน 
 1.  ชื่อโครงงาน
 2.  ชื่อผู้ทำโครงงาน
 3.  ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน
 4.  ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
 5.  วัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า 
6.  สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า (ถ้ามี) 
7.  วิธีดำเนินงาน 
8.  แผนปฏิบัติงาน
 9.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ
10. เอกสารอ้างอิง





 4. การลงมือทำโครงงาน
          เมื่อเค้าโครงของโครงงานได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว ก็เสมือนว่าการจัดทำโครงงานได้ผ่านพ้นไปแล้วมากกว่าครึ่ง ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการลงมือพัฒนาตามขั้นตอนที่วางแผนไว้ ดังนี้
     1 การเตรียมการ 
          การเตรียมการ ต้องเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และวัสดุอื่นๆ ที่จะใช้ในการพัฒนาให้พร้อมด้วย และควรเตรียมสมุดบันทึกหรือบันทึกเป็นแฟ้มข้อความไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ สำหรับบันทึกการทำกิจกรรมต่างๆ ระหว่างทำโครงงาน ได้แก่ ได้ปฏิบัติอย่างไร ได้ผลอย่างไร มีปัญหาและแก้ไขได้หรือไม่อย่างไร รวมทั้งข้อสังเกตต่างๆ ที่พบ
     2 การลงมือพัฒนา
          - ปฏิบัติตามแผนงานที่วางไว้ในเค้าโครง แต่อาจเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมได้ถ้าพบว่าจะช่วยทำให้ผลงานดีขึ้น
          - จัดระบบการทำงานโดยทำส่วนที่เป็นหลักสำคัญๆ ให้แล้วเสร็จก่อน จึงค่่อยทำ ส่วนที่เป็นส่วนประกอบหรือส่วนเสริมเพื่อให้โครงงานมีความสมบูรณ์มากขึ้น และถ้ามีการแบ่งงานกันทำ ให้ตกลงรายละเอียดในการต่อเชื่อมชิ้นงานที่ชัดเจนด้วย
          - พัฒนาระบบงานด้วยความละเอียดรอบคอบ และบันทึกข้อมูลไว้อย่างเป็นระบบและครบถ้วน 
     3 การทดสอบผลงานและแก้ไข
          การตรวจสอบความถูกต้องของผลงาน เป็นความจำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าผลงานที่พัฒนาขึ้นทำงานได้ถูกต้องตรงกับความต้องการ ที่ระบุไว้ในเป้าหมายและทำด้วยประสิทธิภาพสูงด้วย 
     4 การอภิปรายและข้อเสนอแนะ
          เมื่อพัฒนาผลงานเรียบร้อยแล้ว ให้จัดทำสรุปด้วยข้อความที่สั้นกะทัดรัดอย่างครอบคลุม เพื่อช่วยให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงสิ่งที่ค้นพบจากการทำโครงงาน และทำการอภิปรายผลด้วย เพื่อพิจารณาข้อมูลและผลที่ได้ พร้อมกับนำ ไปหาความสัมพันธ์กับหลักการ ทฤษฎี หรือผลงานที่ผู้อื่นได้ศึกษาไว้แล้ว ทั้งนี้ยังรวมถึงการนำหลักการ ทฤษฎี หรือผลงานของผู้อื่นมาใช้ประกอบการอภิปรายผลที่ได้ด้วย
     5 แนวทางการพัฒนาโครงงานในอนาคตและข้อเสนอแนะ
          เมื่อทำโครงงานเสร็จสิ้นลงแล้ว นักเรียนอาจพบข้อสังเกต ประเด็นที่สำคัญ หรือปัญหา ซึ่งสามารถเขียนเป็นข้อเสนอแนะและสิ่งที่ควรจะศึกษาและหรือใช้ประโยชน์ต่อไปได้  



5. การเขียนรายงาน
          การเขียนรายงานเป็นวิธีการสื่อความหมายเพื่อให้ผู้อื่นได้เข้าใจแนวคิด วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า ข้อมูลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่างๆ เกี่ยวกับโครงงานนั้น ในการเขียนรายงานนักเรียนควรใช้ภาษาที่อ่านง่าย ชัดเจน กระชับ และตรงไปตรงมา ให้ครอบคลุมหัวข้อต่างๆเหล่านี้
     1 ส่วนนำ
          ส่วนนำ เป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงงานนั้นซึ่งประกอบด้วย
          1. ชื่อโครงงาน
          2. ชื่อผู้ทำโครงงาน
          3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
          4. คำขอบคุณ เป็นคำกล่าวขอบคุณบุคคลหรือหน่วยงาน ที่มีส่วนช่วยทำให้โครงงานสำเร็จ
          5. บทคัดย่อ อธิบายถึงที่มา ความสำคัญ วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ และผลที่ได้โดยย่อ
     2 บทนำ
          บทนำเป็นส่วนรายละเอียดของเนื้อหาของโครงงานซึ่งประกอบด้วย
          1. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
          2. เป้าหมายของการศึกษาค้นคว้า
          3. ขอบเขตของโครงงาน
     3 หลักการและทฤษฎี
          หลักการและทฤษฎี เป็นส่วนสรุปข้อมูลที่ได้จากการศึกษาหาข้อมูลหรือหลักการ ทฤษฎี หรือวิธีการที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาโครงงาน ซึ่งรวมถึงการระบุผลงานของผู้อื่นที่นักเรียนนำมาเปรียบเทียบหรือพัฒนาเพิ่มเติมด้วย



     4 วิธีดำเนินการ
          วิธีดำเนินการ อธิบายขั้นตอนการดำเนินงานโดยละเอียด พร้อมทั้งระบุปัญหาหรืออุปสรรคที่พบพร้อมทั้งวิธีการที่ใช้แก้ไข พร้อมทั้งระบุวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการทำงาน  
     5 ผลการศึกษา
          ผลการศึกษา นำเสนอข้อมูลหรือระบบที่พัฒนาได้ โดยอาจแสดงเป็นตาราง หรือ กราฟ หรือข้อความ ทั้งนี้ให้คำนึงถึงความเข้าใจของผู้อ่านเป็นหลัก  
     6 สรุปผลและข้อเสนอแนะ
          สรุปผลและข้อเสนอแนะ อธิบายผลสรุปที่ได้จากการทำ งาน ถ้ามีการตั้งสมมติฐานควรระบุด้วยว่าข้อมูลที่ได้สนับสนุนหรือคัดค้านสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือยังสรุปไม่ได้ นอกจากนั้นยังควรกล่าวถึงการนำ ผลการทดลองหรือพัฒนาไปใช้ประโยชน์ อุปสรรคของการทำโครงงาน หรือข้อสังเกตที่สำคัญ หรือข้อผิดพลาดบางประการที่เกิดขึ้นจากการทำ โครงงานนี้ รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงแก้ไขหากจะมีผู้ศึกษาค้นคว้าในเรื่องทำนองนี้ต่อไปในอนาคตด้วย  
     7 ประโยชน์
          ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน ระบุประโยชน์ที่นักเรียนได้รับจากการพัฒนาโครงงานนั้น และประโยชน์ที่ผู้ใช้จะได้รับจากการนำผลงานของโครงงานไปใช้ด้วย  
     8 บรรณานุกรม
          บรรณานุกรม รวบรวมรายชื่อหนังสือ วารสาร เอกสาร หรือเว็บไซด์ต่างๆ ที่ผู้ทำ โครงงานใช้ค้นคว้า หรืออ่านเพื่อศึกษาข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ ที่นำมาใช้ประโยชน์ในการทำ โครงงานนี้การเขียนเอกสารบรรณานุกรมต้องให้ถูกต้องตามหลักการเขียนด้วย  
     9 การจัดทำคู่มือการใช้งาน
          หาโครงงานที่นักเรียนจัดทำ เป็นการพัฒนาระบบใหม่ขึ้นมา ให้นักเรียนจัดทำคู่มืออธิบายวิธีการใช้ผลงานนั้นโดยละเอียด ซึ่งประกอบด้วย
          - ชื่อผลงาน
          - ความต้องการของระบบคอมพิวเตอร์ ระบุรายละเอียดของคอมพิวเตอร์ที่ต้องมีเพื่อจะใช้ผลงานนั้นได้
          - ความต้องการของซอฟต์แวร์ ระบุรายชื่อซอฟต์แวร์ที่ต้องมีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อจะให้ผลงานนั้นทำงานได้อย่างสมบูรณ์
          - คุณลักษณะของผลงาน อธิบายว่าผลงานนั้นทำ หน้าที่อะไรบ้าง รับอะไรเป็นข้อมูลขาเข้าและส่วนอะไรออกมาเป็นข้อมูลขาออก
          - วิธีการใช้งานของแต่ละฟังก์ชัน อธิบายว่าจะต้องกดคำสั่งใด หรือกดปุ่มใด เพื่อให้ผลงานทำงานในฟังก์ชันหนึ่งๆ   



6. การนำเสนอและแสดงโครงงาน
          การนำเสนอและการแสดงผลงานเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งของการทำโครงงาน เพื่อแสดงออกถึงผลิตผลความคิด ความพยายามในการทำงานที่ผู้ทำโครงงานได้ทุ่มเท และเป็นวิธีทำให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจถึงผลงานนั้น การเสนอผลงานอาจทำได้ในหลายรูปแบบต่างๆ กัน เช่น การแสดงผลงานโดยไม่มีการอธิบายประกอบการรายงานด้วยคำพูดในที่ประชุม การจัดนิทรรศการโดยโปสเตอร์และอธิบายด้วยคำพูด เป็นต้น โดยผลงานที่นำมาเสนอหรือจัดแสดงควรประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้
          1. ชื่อโครงงาน
          2. ชื่อผู้จัดทำโครงงาน
          3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
          4. คำอธิบายถึงที่มาและความสำคัญของโครงงาน
          5. วิธีการดำเนินการที่สำคัญ
          6. การสาธิตผลงาน
          7. ผลการสังเกตและข้อสรุปสำคัญที่ได้จากการทำโครงงาน